เทศบาลตำบลโคกกรวด
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

เยี่ยมชมเว็บโครงการหลัก


โคกกรวด


แบ่งปันความดีงามในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ความเป็นมาของ อพ.สธ.

 

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)



1. ความเป็นมาของ อพ.สธ.

ทั่วโลกตระหนักถึงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชนอย่างยั่งยืน จากความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดน้อยลงทุกวัน ที่นอกจากกฎหมายภายในของแต่ละประเทศที่เข้ามามีส่วนบังคับใช้ ยังมีกฎหมายและอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องในเรื่องของทรัพยากรชีวภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ, CBD (Convention on Biological Diversity) ซึ่งประเทศไทยไดมอบสัตยาบันสารเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 มีผลให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้กับ ประเทศไทยในฐานะภาคีลำดับที่ 188 เมื่อวันที่  29 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยเนื้อหาของอนุสัญญาฯ คือ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชนความหลากหลายทางชีวภาพ การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นภาคี จึงต้องจัดทำนโยบาย มาตรการ และแผนการดำเนินงานขึ้นเอง พระราชบัญญัติที่ออกมาเพื่อใช้ในการนี้แล้ว ไดแก พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุพืช พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2551 และระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ การเข้าถึงและการได้รับผลประโยชนตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ เป็นต้น
 

นอกจากนั้น ประเทศไทยยังต้องเตรียมพรอมและมีมาตรการ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม และความปลอดภัยทางชีวภาพ สืบเนื่องจากการเป็นภาคีของ CBD ทำให้ประเทศไทยต้องพิจารณาการให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรของประเทศ มีสาระสำคัญ คือ ทรัพยากรพืชอาหารและการเกษตร 64 สกุล(genus) ประมาณ 3,300 ชนิด (species) ที่แนบท้ายสนธิสัญญา ฯ ซึ่งเป็นของหน่วยงานภาครัฐจะตกเป็นของพหุภาคี ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ

ด้วยเหตุนี้เราอาจสูญเสียทรัพยากรของประเทศ เนื่องมาจากต่างชาติได้นำไปศึกษาวิจัยและพัฒนา แล้วนำไปจดสิทธิบัตรเป็นพืชพันธุ์ใหม่ อาจส่งผลให้ประเทศไทยไมไดเป็นเจ้าของสิทธิในการใช้ทรัพยากรนั้น ๆ เนื่องจากอาจถูกจดสิทธิบัตรโดยต่างชาติไปแล้ว จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ในเรื่องของการสูญเสียความรูและภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยให้กับต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมของมาตรการเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชนความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืช
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการเป็นเจ้าของทรัพยากร แต่ไม่สามารถผลิตและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งในอนาคต ทั้งนี้ทาง อพ.สธ. ไดเสนอกับคณะผู้วิจัย ศึกษาผลกระทบสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร และคณะกรรมการพิจารณากระบวนการให้สัตยาบันสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย พันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ที่มีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือให้ประเทศไทยมี 3 สถานะ คือ ภาครัฐ, ภาคเอกชน และ สวนพระองค์  โดยที่ อพ.สธ. และหน่วยงานที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริจัดเป็นหน่วยงานส่วนพระองค์ ดังนั้นหากต่างประเทศจะนำข้อมูล หรือพันธุกรรมใด ๆ ไปใช้ ตองขอ พระราชทางข้อมูลพันธุกรรมนั้น ๆ ก่อน ขึ้นอยู่กับพระราชวินิจฉัย

จากสถานการณนี้ทาง อพ.สธ. จึงขอพระราชวินิจฉัยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร โดยทรงมีพระราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดังนี้

“ หากผลการวิจัย และประชาพิจารณ์ประเทศไทยยังไมพรอม ก็ขอให้ชะลอไปก่อน ระหว่างนี้ขอให้นักวิชาการทุกฝ่ายร่วมมือกัน เตรียมคนให้พร้อมโดยเร่งด่วน    เพราะวันที่จำเป็นต้องรับการนี้ ตองมาถึงสักวันหนึ่ง ”
 เช่นเดียวกับในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมวิทยาศาสตร์นานาชาติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 5 เรื่อง วิวัฒนาการของพันธุศาสตร์และผลกระทบต่อโลก ณ โรงแรมแชงกรี-ลา ในส่วนงานวิจัยทาง พันธุศาสตร์ที่มีความก้าวหนามากขึ้น ดังนี้

 “ ความรูต่าง ๆ เหล่านั้น แม้จะมีประโยชนมากก็จริง แต่ถ้าใช้ไมถูกเรื่อง  ถูกทาง โดยไมพิจารณาให้ดีให้รอบคอบแลว ก็อาจกอให้เกิดผลกระทบเสียหายแกชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงได้เช่นกัน เหตุนี้ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา จำเป็นจะต้องศึกษาให้รู้เท่าและรูทัน”

ดังนั้น จากอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) อพ.สธ. และหน่วยงานที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริ จะเป็นส่วนที่ทำการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชนทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยขึ้นอยู่กับพระราชวินิจฉัย เป็นอิสระ ไมขึ้นกับผลของสนธิสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขึ้นอยู่กับ จิตสำนึกที่รักและหวงแหนทรัพยากร ดังที่มี
พระราชกระแส

“ การรักทรัพยากร คือ การรักชาติรักแผ่นดิน ”

๒. วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    2. เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช ในดำเนินงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น สำรวจ เก็บ รวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น ปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
    3. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเทศบาลตำบลโคกกรวด
    4. เพื่อให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศโดยจัดตั้ง  “ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกกรวด”

๓. กรอบการดำเนินงาน
การดำเนินงาน มีกรอบการทำงาน 3 กรอบ 6 กิจกรรม ฐานทรัพยากร      3  ฐาน (1.ทรัพยากรกายภาพ 2.ทรัพยากรชีวภาพ 3.ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา) เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเรียนรู้ทรัพยากรท้องถิ่น ว่ามีอะไรบ้างและนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นและใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นให้ยั่งยืน  
1.  กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
2.  กรอบการใช้ประโยชน์
3.  กรอบการสร้างจิตสำนึก

1. กรอบการเรียนรูทรัพยากร เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ  การดำเนินงาน  ด้านการพัฒนา และด้านการบริหารจัดการ ของกรอบการเรียนรูทรัพยากร โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินงานสนับสนุน 3 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากรท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติให้มีพื้นที่ปกปักพื้นที่ป่าธรรมชาติดั้งเดิม หรือพื้นที่ที่ประชาชนร่วมกันรักษา จากนั้นมีการสำรวจขึ้นทะเบียน ทำรหัสประจำต้นไม้ และทรัพยากรชีวภาพอื่น ๆ เช่น สัตว์และจุลินทรีย์  สนับสนุนให้มีอาสาสมัครระดับหมูบ้าน ซึ่งหากรักษาป่าดั้งเดิมไวได้ และทราบว่ามีทรัพยากรอะไรบ้าง จะนำไปสูการอนุรักษ์และใช้ประโยชนอย่างยั่งยื่นไป
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจ เก็บ รวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่คนละพื้นที่กับพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น โดยเป็นการดำเนินการสำรวจ เก็บ รวบรวม ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และรวมถึงสำรวจ   เก็บข้อมูลในเรื่องทรัพยากรกายภาพ ในพื้นที่ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนา เช่น จากการทำถนน เปลี่ยนแปลงจากป่าธรรมชาติเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือการทำโรงงานอุตสาหกรรม การจัดทำบ้านจัดสรร ฯลฯ ซึ่งพันธุกรรมในพื้นที่เหล่านั้นจะสูญไป โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ออกสำรวจ เก็บ รวบรวมพันธุไมที่กำลังจะสูญพันธุหรือพันธุกรรมทรัพยากรชีวภาพอื่น ๆ ในรูปเมล็ด กิ่ง ตน เป็นต้น
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรม สำรวจ เก็บ รวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น โดยการ นำพันธุกรรมไปเพาะ และปลูกในพื้นที่ที่ปลอดภัย

2. กรอบการใช้ประโยชน เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศึกษาวิจัยใน อพ.สธ. ทั้งในด้านการพัฒนาและการบริหารจัดการให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเอื้ออำนวยประโยชนต่อกัน รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อพ.สธ. ให้เป็นเอกภาพสมบูรณและเป็นปัจจุบัน โดยบรรลุจุดมุ่งหมายตามแนวพระราชดำริ โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินงานสนับสนุนดังนี้
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชนทรัพยากรท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืช และทรัพยากรอื่น ๆ ที่สำรวจ  เก็บ รวบรวมและปลูกรักษาไว โดยมีการศึกษาประเมินในสภาพธรรมชาติ การปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ เป็นต้น

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงาน  บันทึกข้อมูล ของการ สำรวจ เก็บ รวบรวม การศึกษาประเมินการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งงานฐานข้อมูลทรัพยากรอื่น ๆ นอกเหนือจากพันธุกรรมพืช เช่น ฐานข้อมูลของพืช ฐานข้อมูลของสัตว์ ฐานข้อมูลชีวภาพอื่น ๆ และข้อมูลต่าง ๆ จากการทำงานในกิจกรรมที่ 1-4 โดยทำการบันทึกลงในระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูล และมีระบบที่เชื่อมต่อถึงกันไดทั่วประเทศ โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทรัพยากรของหน่วยงานที่รวมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. นำไปสู่การวางแผนพัฒนาพันธุพืชและทรัพยากรต่างๆ โดยที่ อพ.สธ. เป็นที่ปรึกษา

3. กรอบการสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ไดมีความรูความเข้าใจเกี่ยวกับพืชพรรณไมและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศ จนตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อมหาชนชาวไทย โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินงานสนับสนุนดังนี้


กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมสนับสนุนงานของ อพ.สธ. ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของทุนสนับสนุน หรือดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของ อพ.สธ.      สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ให้เยาวชน บุคคลทั่วไปให้เข้าใจถึงความสำคัญ และประโยชนของพันธุกรรมพืช ให้รู้จักหวงแหน รูจักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน    ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของประเทศ ซึ่งพระราชทานพระราชดำริ ให้ดำเนินการกับเยาวชน โดยการฝึกอบรมให้เห็นประโยชน์ความงดงาม     เกิดความปิติ จะทำการอนุรักษ์แทนที่จะสอนให้อนุรักษ์แล้วเกิดความเครียด ในกิจกรรมนี้มี “งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เป็นสื่อการเรียนรู งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ที่มีชีวิต มีที่เก็บพรรณไมแหง พรรณไมดอง มีห้องสมุดสำหรับค้นคว้า มีการศึกษาต่อเนื่อง รวมทั้งให้โรงเรียนเป็นที่รวบรวมพรรณไม้ท้องถิ่นที่หายาก ใกล้สูญพันธุ และเป็นที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นให้เยาวชนนั้นไดใกล้ชิดกับพืชพรรณไม่ เห็นคุณค่า ประโยชนความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดสำนึกในการอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป


 

ความเป็นมาของงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกกรวด

 

 

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น



ความเป็นมา

เทศบาลตำบลโคกกรวด ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ได้รับทราบการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ที่ทรงสืบทอดงานอนุรักษ์ทรัพยากร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีศรัทธาในพระราชดำริที่ทรงทำเพื่อประโยชน์แท้ของประชาชนชาวไทย จึงได้ร่วมประชุมทุกภาคส่วนในตำบลโคกกรวดในการที่จะสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร ทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อที่จะอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรตำบลโคกกรวดอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง

เทศบาลตำบลโคกกรวด จึงได้สมัครเข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553  ระหว่างที่รอการตอบรับเข้าร่วมโครงการสนองพระราชดำริฯ เทศบาลได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการ อพ.สธ.ในปี พ.ศ.2554 ที่ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และระหว่าง    ปี 2555 ถึง 2557  ได้ปลูกรักษาพันธุไม้หายาก พืชสมุนไพร ปลูกสมอพิเภก ปลูกต้นสักหรือสักสยามมินทร์   ในพื้นที่ปลูกรักษาบริเวณพื้นที่สาธารณะ 9 ไร่   

และในกลางปี 2557 ทางโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้ตอบรับสมาชิกเข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  “งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น”  ลำดับสมาชิกเลขที่ 8-5300106 รายละเอียดตามหนังสือโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ  ที่ พว 0001(อพ.) 5152/2557 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2557 โดยดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่น ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และมีระบบข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์ ปรับปรุง พัฒนา เรียนรู้และรักษาไว้ให้คงอยู่ถึงชนรุ่นหลัง


หลังจากเทศบาลได้รับการตอบรับสมาชิกเข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ ในโครงการ  อพ.สธ.
แล้ว จึงได้จัดประชุมประชาคมตำบล ประชาคมหมู่บ้าน ซึ่งประกอบไปด้วย สมาชิกสภาเทศบาล ฝ่ายท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ชุมชน ผู้รู้ในท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อให้เข้าใจ  และเห็นความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น  ทั้ง  6  กิจกรรม  และมีส่วนร่วมในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น  และได้รับป้ายสนองพระราชดำริในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ปี 2558   ในการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน  วันที่ 23-29  มีนาคม  พ.ศ.2559 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

รับป้ายสนองพระราชดำริในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ปี 2558

 



และได้ดำเนินงานสานต่อตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เรื่อยมา  เพื่อรับการประเมินเกียรติบัตร  ขั้นที่  1  ประจำปีงบประมาณ  2562  ผลการประเมิน “ผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้รับเกียรติบัตรงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ขั้นที่ 1 เป็นเกียรติบัตรแห่งความมุ่งมั่น อนุรักษ์ สรรพสิ่ง สรรพชีวิต ด้วยจิตสำนึกในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ในการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์  ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์หนองระเวียง ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


             ได้รับเกียรติบัตรงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ขั้นที่ 1  ปี  2562


งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น  ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้

ด้านที่ 1 การบริหารและการจัดการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่นดำเนินงานตามแผน สรุปและประเมินผลการดำเนินงานให้ อพ.สธ. ทราบอย่างน้อยปีละ  1 ครั้ง

ด้านที่ 2 การดำเนินงาน

งานที่ 1  งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น ณ สระน้ำวัดหนองหว้า พื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น 14 ไร่  96    ตารางวา  แบ่งเป็น 2  พื้นที่  
พื้นที่ 1(พื้นดิน)จำนวน 5 ไร่ 72  ตารางวา     
พื้นที่ 2 (พื้นน้ำ) จำนวน 9  ไร่ 24  ตารางวา
“เกิดแหล่งการเรียนรู้ระบบนิเวศในพื้นที่ปกปัก”
1.1  การกำหนดขอบเขต  สำรวจทรัพยากรและจำแนกชนิดของทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก
1.2การทำผังแสดงขอบเขตพื้นที่ปกปัก
1.3 การศึกษาและถ่ายภาพในพื้นที่ปกปัก
1.4  การทำตัวอย่างทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก
1.5  การทำทะเบียนทรัพยากร และระบบจัดเก็บสืบค้น ทั้งที่เป็นเอกสารและคอมพิวเตอร์
1.6 การดูแล รักษา ทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก แบบบันทึกการดูแล  การจัดตั้งอาสาสมัคร

งานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น  18  ชุมชน
“ได้ข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น จำนวน 18 ชุมชน เช่นประวัติหมู่บ้าน วัฒนธรรมประเพณี”
2.1 การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น
2.2 การเก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น
2.3 การเก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น
2.4 การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน วิถีชุมชน
2.5 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น ทะเบียนพรรณไม้ในชุมชน
2.6 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์สัตว์ในท้องถิ่น ทะเบียนพรรณสัตว์ในท้องถิ่น
2.7 การสำรวจเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ชีวภาพอื่นๆ ทะเบียนชีวภาพอื่นในชุมชน
2.8 การเก็บรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.9 การเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและโบราณคดี
2.10 การจัดทำรายงานผลการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น

งานที่ ๓  งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น ณ ที่สาธารณประโยชน์  9  ไร่ เนื้อที่ 11 ไร่  1 งาน  95  ตารางวา “ได้รวบรวมพรรณพืช  สัตว์ ชีวภาพ ภูมิปัญญาพื้นถิ่นไว้ในพื้นที่ปลูกรักษา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้”
3.1  การจัดหาและรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น
3.2  การปลูกและรักษาทรัพยากรท้องถิ่น
3.3 การติดตามการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร


งานที่ ๔  งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น  
“ชาวบ้านได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน เกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรของตน และใช้ทรัพยากรนั้นอย่างประหยัด เกิดความภาคภูมิใจในทรัพยากรที่ตนมี มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรไว้ไม่ให้สูญหายไปจากท้องถิ่น ทำให้เกิดการสร้างแหล่งเรียนรู้ และเกิดรายได้ให้กับชุมชน”
4.1  งานฟื้นฟู บำรุงรักษาพันธุ์  ขยายพันธุ์เพิ่ม แจกจ่ายให้ชุมชน
4.2  การใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น เช่น สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในท้องถิ่น  แหล่งเรียนรู้

งานที่ ๕  งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น  ณ ห้องศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
รวบรวมข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น ความหลากหลายในชุมชนและเป็นแหล่งเก็บข้อมูลศึกษาค้นคว้า
5.1 การรวบรวมและการบันทึกข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น (กายภาพ ชีวภาพ ภูมิปัญญา)
5.2 ระบบการจัดเก็บและสืบค้น(เอกสารและคอมพิวเตอร์)

งานที่ ๖  งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น  
“เป็นการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนได้เห็นคุณค่า และประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่ ได้ทราบถึงวิถีชีวิตของชุมชนของตนแต่ดั้งเดิม ทำให้เกิดความรัก และความภาคภูมิใจ”
6.1 สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (งานพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
6.2 สนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ

ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน
1. สภาพแวดล้อมทั่วไปของท้องถิ่น มีความสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น น่าอยู่
2. บรรยากาศท้องถิ่น
3. บุคลากร มีคุณธรรม จริยธรรม
4. ผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากร ดีเป็นที่ยอมรับ

4  ทรัพยากรท้องถิ่น

1. ทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาพืช (ตะไคร้) นวัตกรรม 5 อย่าง คือ สเปรย์ตะไคร้ไล่ยุง ชาตะไคร้ ตะไคร้
บำรุงผม ถุงสมุนไพรไล่ยุง ไม้จิ้มฟันตะไคร้
1.1 การเรียนรู้จากตะไคร้
1.2 การใช้ประโยชน์จากตะไคร้
1.3 การสร้างจิตสำนึก

2. ทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาสัตว์ (ปลาตะเพียนขาว) นวัตกรรม 3 อย่าง คือ น้ำพริกปลาตะเพียน
ข้าวเกรียบปลาตะเพียน โมบายปลาตะเพียน
2.1 การเรียนรู้จากปลาตะเพียนขาว
2.2 การใช้ประโยชน์จากปลาตะเพียนขาว
2.3 การสร้างจิตสำนึก

3. ทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาชีวภาพอื่นๆ (เห็ดนางฟ้าภูฐาน) นวัตกรรม 3 อย่าง คือ น้ำพริกเห็ด
เห็ดสวรรค์ ขนมเห็ดทอด
3.1 การเรียนรู้จากเห็ดนางฟ้าภูฐาน
3.2 การใช้ประโยชน์จากเห็ดนางฟ้าภูฐาน
3.3 การสร้างจิตสำนึก

4. ทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาภูมิปัญญา (สุ่มไก่) นวัตกรรม 3 อย่าง คือ โคมไฟสุ่มไก่เพดาน  โคมไฟสุ่มไก่ตั้งโต๊ะ  สุ่มไก่จำลองของชำรวย
4.1 การเรียนรู้จากสุ่มไก่
4.2 การใช้ประโยชน์จากสุ่มไก่
4.3 การสร้างจิตสำนึก

 

 

 

 

 

แหล่งเรียนรู้งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
1
2
3

4
5
6
กิจกรรมโครงการ

     บรรยายการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง..>>>

     บรรยายการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงอ้อ..>>>

     องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง ขอศึกษาดูงานงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกกรวด..>>>



     การฝึกปฏิบัติการสำรวจและรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น

     องค์การบริหารส่วนตำบลนาคู่ จังหวัดนครพนม ขอศึกษาดูงานงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกกรวด..>>>

     องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไทร จังหวัดนครราชสีมา ขอศึกษาดูงานงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกกรวด..>>>

สื่อการนำเสนอตามแบบประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านการบริหารและการจัดการ
ด้านการดำเนินงาน